เขาคิชฌกูฏ อ่านว่า เขา-คิด-ชะ-กูด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ และพระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยประชาชนคนไทยนิยมจองคิวไปสักการะกราบไหว้รอยพระพุทธบาท โดยเปิดให้สักการะเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ซึ่ง ‘รอยพระพุทธบาท‘ มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม. หากใครต้องการจองคิวไปสักการะบูชา พวกเรา Urseer พร้อมให้คำแนะนำในการเดินทาง และวิธีการกราบไหว้ตามจุ ดต่างๆ แนะนำเลย! ถ้าไม่อยากพลาดสิ่งดีๆ
ที่มาของ ‘เขาคิชฌกูฏ’
สำหรับชื่อ “เขาคิชฌกูฎ” มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรีซึ่งเป็นที่ตั้งของเขาคิชฌกูฏหรือที่เรียกง่ายๆ ว่าคิชฌกูฏ ซึ่งเป็นภูเขาสูงตระหง่านท่ามกลางแมกไม้เขียวขจีทางตะวันออกของประเทศไทย โดยความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่แห่งนี้แพร่หลายไปในตำนานและนิทานพื้นบ้านของไทย นำเสนอให้เห็นถึงมรดกอันอุดมสมบูรณ์ของมรดกไทย โดยจากในตำนานเล่าว่าเขาคิชฌกูฎ เคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่พุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย และในบริเวณตรงข้ามรอยพระหัตถ์ มีรูปรอยเท้าใหญ่ (รอยเท้าพญามาร) ใต้พระบาทมีถ้ำตาฤาษี ซึ่งจากในตำนานของไทย “คิชฌกูฎ” แปลว่า “บ้านงูศักดิ์สิทธิ์” ชาวบ้านท้องถิ่นเชื่อกันว่าพญานาคเคยอาศัยอยู่ภายในถ้ำตามรอยแยกของเขาคิชฌกูฏเพื่ออวยพรและปกป้องแผ่นดินไทย นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า “เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็รสิริมงคลแก่ผู้นั้นตลอดไป
กำหนดการสักการะ
สำหรับสายบุญท่านใดที่สนใจเดินทางไปยัง เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี จำเป็นต้องทราบกำหนดการสักการะก่อน เนื่องจากทางเขาคิชฌกูฏ จะเปิดให้ขึ้นไปสักการะบูชาแค่เพียงปีละครั้งเท่านั้น สำหรับปี 2567 นี้ กำหนดการสักการะ คือ ช่วงระหว่าง วันที่ 10 ก.พ. – 9 เม.ย. 67 เท่านั้น โดยจะมีพิธีเปิดป่าเปิดเขาในช่วงวันที่ 8 ก.พ. 67 และในวันที่ 10 เม.ย. 67 จะมีพิธีเปิดป่า – ปิดงานนั้นเอง
ข้อควรปฏิบัติ
- ไหว้พระบาทจำลอง ที่ต้นศรีมหาโพธิ์
- ขึ้นศาลาไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 9 องค์ ปิดทองรูปใด ขอพรขอบารมีรูปนั้นให้ครบ 9 ครั้ง
- จุดเทียนธูป หน้าห้องกระจก ตั้งสัจจะขอในสิ่งที่เราต้องการต่อหน้าสังขาร พระครูพุทธบทบริบาร (หลวงพ่อนัง)
- ประพรมน้ำพุทธมนต์ ให้เป็นสิริมงคลก่อนขึ้นเขา
- ตั้งสัจจะ ขอที่พระอภิบาลมงคลพุทธไสยาสน์
- จุดเปลี่ยนรถที่ 1 ไหว้เจดีย์กลางเขา เจ้าแม่กวนอิม, พระพรหม, พระพิฆเนศวร, แม่โพสพ, บาตรแห่งมหาโชคลาภ
- เปลี่ยนรถที่ 2 ไหว้พระสิวลี พระแม่ธรณีบีบมวยผมพระนอน, พระมาลัย
- ท้าวเวสสุวรรณ, ท้าวพิเภก, พระพิฆเนศวร, แม่ธรณีบีบมวยผม แล้วเคาะระฆัง 2 ข้างทาง
- สิ่งมหัศจรรย์ รอยเสือใหญ่, รอยกวางทอง, พระศิวะ, พระนาคปรก
- จุดพักขึ้นประตูสวรรค์ ไหว้พระป่าเรไร, ถวายสังฆทาน, ไหว้พระพรหม แล้วเคาะระฆังขึ้นสวรรค์
- ไหว้หมอชีวกโกมารภัทร, ฆ้อง, ธรรมจักร, นมัสการรอยพระบาท, เจ้าแม่กวนอิม, ท้าวมหาพรหมวิหาร(กองอำนวยการ)
- ลานอินทร์ เป็นลานที่พระอินทร์ลงมาประทับที่สถานที่แห่งนี้ เลยนำรูปท่านมาประดิษฐานไว้ที่นี่ และมีผู้อธิษฐานขอแล้วประสบความสำเร็จในเรื่องเนื้อคู่, ที่อยู่อาศัย, ไหว้เทพเทวดา, สักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ, พระปิยมหาราช, สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (พรหมรังษี) ด้านข้างเป็นจุดชมวิวสวยงามมากเป็นหุบเขาที่เขียวชอุ่ม มีเขื่อนเก็บน้ำ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
- นมัสการพระสิวลี, พระพิฆเนศวร
- ปิดทอง ขอพรจากลูกแก้วสารพัดนึก
- สักการะบาตรพระอานนท์ (บาตรใหญ่) ลานบายศรี เป็นที่บูชาเทพ
- สักการะบาตรพระสิวลี บาตรแห่งความร่ำรวย
- ไหว้แม่นางตะเคียน ให้โชคให้ลาภ
- ลานพรหมบรรทม เป็นสถานที่พระพรหมบรรทม ควรไหว้พระและสวดมนต์บูชาพระพรหมบาตรพระโมคคัลลานะ อยู่ใกล้กับลานพรหมบรรทม
- บาตรพระสารีบุตร และผ้าแดง เป็นสถานที่เดียวกับผ้าแดง ให้เขียนชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่บนผ้าแดงแล้วอธิษฐานจิตตามปรารถนาค่ะ
อ้างอิงจาก: www.chanforchan.com, thai.tourismthailand.org/
เคล็ดลับไหว้ขอพร
แนะนำให้ขอพรแค่เพียง 1 ข้อเท่านั้น และห้ามบนบาน ให้สักการะบูชาไปด้วยใจที่แน่วแน่ ศรัทธา โดยไม่ว่าจะไปไหว้ที่จุดไหว้ไหนก็ให้ขอพรด้วยพรเดิมและจะสำเร็จตามที่หวัง
วิธีจองคิวขึ้นเขาคิชฌกูฏ
- เริ่มต้นโดยการโหลดแอป KCKQue และเลือกหัวข้อ ‘ข้อมูลการจองคิว’
- เลือก ‘เพิ่มข้อมูลการจอง’ โดยระบุรายละเอียดวันเดินทางพร้อมข้อมูลส่วนตัว จำนวนคนที่จะขึ้นไปด้านบน
- เมื่อจองเสร็จสมบูรณ์แล้ว วันที่เดินทางมาถึงให้แสดงบัตรคิวกับเจ้าหน้าที่
ค่าใช้จ่ายสำหรับการขึ้นเขาคิชฌกูฏ
สำหรับการขึ้นไปด้านบนเขาคิชฌกูฏนั้น ผู้อยากจะขึ้นไปสักการะบูชาสิงศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขานั้นจะต้องมีจิตศรัทธาที่แรงกล้า เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาอีกราว 3 กม. เพื่อขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฏ โดยการขึ้นเขาคิชฌกูฏสามารถขับรถขึ้นไปเองได้ หรือหากใครไม่อยากขับรถเอง ทางจังหวัดจันทบุรีก็มีบริการรถรับส่ง โดยจุดขึ้นรถจะมี 2 ที่ ได้แก่ 1) จุดขึ้นรถเขาพระบาทหลวง อยู่หน้าวัดพลวง 2) จุดขึ้นเขาวัดกระทิง อยู่บริเวณวัดกระทิง และจุดเดินเท้า 1) เดินจากหน่วย คก.1 2) เดินจากบ้านแกลง (วัดโคกตะพง) โดยการใช้จ่ายทั้งหมดมีดังนี้
ค่าใช้จ่ายสำหรับค่ารถขึ้นเขา (ขึ้น – ลง): ราคา 200 บาท/คน
ค่าเข้าอุทยาน: สำหรับคนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี 20 บาท/คน, ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี 100 บาท/คน โดยพระสงฆ์หรือผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปเข้าฟรี
- สถานที่: ตำบล ตะเคียนทอง อำเภอ เขาคิชฌกูฏ จันทบุรี 22210
- พิกัด: https://maps.app.goo.gl/Zf5GNU4ZEUudpfDw9