พระศิวะ

ที่มาแห่งองค์เทพและความหมาย

พระศิวะ มหาเทพผู้ทำลายล้าง พระศิวะ คนไทยเรียกว่า พระอิศวร เป็นบิดาของพระพิมเนศ มีชายาคือ พระแม่อุมาเทวี พระศิวะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล ตามตำนานระบุว่า พระศิวะกำเนิดขึ้นจากพระเวทและพระธรรมมีอำนาจบารมีสูงสุด อุบัติขึ้นเพื่อสร้างโลกอีกครั้งหนึ่งภายหลังโลกดับสูญ

พระศิวะคือหนึ่งใน ตรีมูรติ หรือ ๓ มหาเทพสูงสุด คือ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เทพแห่งศาสนาพราหมณ์อินดู

พระศิวะจะประทานพรวิเศษให้แก่ผู้หมั่นกระทำ ความดีและยึดมันในศีลธรรม ไม่ว่าจะเป็น อินทร์ พรหมยม ยักษ์ อสูร เทวดา พญานาค นางอัปสร หรือ คนธรรพ์ ฯลฯ สามารถรับพรตามที่ขอได้หากทำความดี

แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้วละเลยการ ประพฤติผิดอยู่เป็นนิจ ผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะจะทำลายพรวิเศษที่พระองค์ประทานให้ทันที นอกจากพระองค์จะทรงมีพระมหากรุณาประทานพรแล้ พระศิวะยังทรงเป็นเทพแห่งคีตา คือเป็นเทพเจ้าแห่งการดนตรี และการร่ายรำ ระบำฟ้อนอีกด้วย พระศิวะทรงมีเอกอัครมเหสีคู่พระทัยคือ พระแม่ศรีมหา อุมาเทวี หรือ พระอุมาเทวี หรือซาวฮินดูนิยมเรียกกันว่าพระนางปาราวตี ซึ่งเป็นอิตถีเทพที่งดงามเป็นยิ่งนัก และยังเป็นเทพ เทวีที่มีผู้คนนิยมบวงสรวงบูชามากมายว่าเทพนารีองค์อื่นองค์ใด 

พระศิวะเป็นมหาเทพเพียงพระองค์เดียวที่มี สัญลักษณ์แทนพระองค์ที่ไม่เหมือนเทพองค์ใด ศิวลึงค์ คือ อวัยวะเพศชายที่ออกแบบมิให้เหมือนจริง ลักษณะเป็นหินแท่งกลมๆ ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของสรรพสิ่งบน จักรวาลหรือเป็นบิดาแห่งจักรวาล มักสร้างไว้บูชาตามเทวสถาน โบราณหลายแห่ง ทั้งในประเทศอินเดียและสุวรรณภูมิ โดยมีลัทธิบูชาศิวลึงค์เป็นการเฉพาะ ศิวลึงค์ มักปรากฏคู่กับ โยนี ซึ่งเป็นฐานใหญ่รองรับอยู่ด้านล่าง เชื่อกันว่า โยนี เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระอุมาเทวีอัครมเหสี

ในคัมภีร์โบราณได้บันทึกถึงการอุบัติ “ศิวลึงค์” ไว้ว่า วันหนึ่งขณะพระศิวะกำลังร่วมเสพสมกับพระอุมาเทวีอย่างสุขสันต์กลางท้องพระโรงในวิมานบนเขาไกรลาศ บังเอิญพวกทวยเทพมาเข้าเฝ้าพระศิวะจึงได้พบเห็นและยืนวิพากษ์วิจารณ์คล้ายจะหมดสิ้นความนับถือในองค์พระมหาเทพพระศิวะทรงพระพิโรธ และได้ประกาศก้องไปทั่วสรวงสวรรค์ว่า ในภายภาคหน้าศิวลึงค์ของพระองค์นี่แหละ จะเป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนพระองค์ที่บรรดามนุษย์และเทพเทวาทั้งปวงจะต้องกราบไหว้บูชา หากปรารถนาจะพบความสุขและความสำเร็จในชีวิต

พระศิวะมอบพรใดแก่ผู้บูชา

พระศิวะมักมอบพรใดๆ ให้กับผู้ส่งเสริมความดีและมีการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันของผู้บูชา พระศิวะมอบพรสร้างแรงบันดาลใจและแนะนำแนวทางที่ถูกต้องในการมีชีวิตอย่างมีความสุขและดีงาม ความสำเร็จ หรือความมั่นคง เป็นต้น

คาถาบทสวดมนต์บูชาพระศิวะ

เริ่มจากการตั้ง “โอม นะมัส ศิวายะ” (ทั้งหมด 3 จบ) ต่อด้วยกล่าวบทสรรเสริญพระศิวะ “โอม กระปูระเคารัม กรุณาวะตารัม สัมสาระสารัม ภุชะเคน ทระหารัม สะทาวะสันตัม หะริทะยาระวินเท ภะวัมภะวาณิ สะหิตัม นะมามิ” เมื่อสวดคาถาบูชาพระศิวะเรียบร้อย ให้ขอพรในสิ่งที่ตนเองปรารถนา ซึ่งสร้างความสงบสุขและแสนสบายใจให้กับผู้บูชา และช่วยให้มีสติปัญญาและความสามารถในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้ที่สวดมนต์ด้วย

วิธีการสักการะบูชาพระศิวะ

สำหรับผู้ที่ต้องการถวายของไหว้และบูชาพระศิวะ มีกฎบางประการที่สำคัญที่ควรทราบ ดังนี้ ข้อสำคัญคือห้ามถวายอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ทั้งของคาวและของหวาน. นอกจากนี้ ในการบูชาพระศิวะ ควรจะจุดธูปจำนวน 9 ดอก เนื่องจากเป็นการสักการะบูชาเทพที่มีฐานะสูง แต่ถ้าคนที่ต้องการขึ้นบนบานศาลเพื่อสวดมนต์กับพระศิวะ ควรจะจุดธูปจำนวน 39 ดอก ในกรณีที่ต้องการบวงสรวงควรจะจุดธูปจำนวน 16 ดอก.

ของไหว้พระศิวะ

  • เครื่องดื่ม : น้ำเปล่า หรือ นมสด (ไม่ปรุงแต่งกลิ่นหรือสี)
  • ดอกไม้ : สามารถใช้ดอกดาวเรือง ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกไม้ป่าวต่างๆ ทุกสี ทุกพันธุ์
  • ผลไม้ : ควรถวายผลไม้ที่มีกลิ่นหอมโชยอ่อนๆ รสชาติอ่อนๆ ไม่เปรี้ยวจัด ไม่หวานจัด หรือขมจัดเกินไป และไม่ควรปอกเป็นคำๆ ควรถวายทั้งเปลือก หรือเป็นลูกๆ เช่น กล้วยทั้งผล (แต่มะพร้าวจะต้องผ่าหรือเทใส่แก้ว)
  • ขนม : ถวายขนมรสหวาน มีกลิ่นหอม ห้ามมีส่วนผสมของอาหารคาวและเนื้อสัตว์
  • ธัญพืช : ถวายงา ลูกเดือย ข้าวตอก ใบมะตูม หญ้าคา เผือก มัน ถั่วฝัก เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าว เมล็ดบัว พริกไทย หรือเครื่องเทศต่างๆ