พระแม่ลักษมี

ที่มาแห่งองค์เทพและความหมาย

พระแม่ลักษมี คือ เทวีแห่งความงุดงาม ความร่ำรวย และ ความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักประทานความสำเร็จใน การ ประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ เงินทอง สมบัติ แก่ผู้หมั่นบูชาพระองค์และประกอบ ความดีอยู่เป็นนิจ

การที่พระแม่ลักษมีทรงเกี่ยวข้องกับความร่ำรวย เพราะพระนางทรงเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีความอุดมสมบูรณ์ก็จะมีธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้มากมาย สร้างรายได้มีอาหารเกษตรกรในอินเดียจึงบูชาพระแม่ลักษมี คล้ายกับคนไทยที่บูชาพระแม่โพสพ พระแม่ลักษมีทรงเป็นเทวีแห่งความงาม ตามตำรามักกล่าวกันว่า ทรงมีพระวรกายเป็นสีทอง ทรงพัสตราภรณ์สีเหลือง หรือชมพู ประทับนั่งหรือยืนบนดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพระนาง บางครั้งพระนางก็ประทับบนหลังช้าง ทรงมี ๔ พระกรเมื่อ อยู่โดยลำพัง แต่ถ้าประทับร่วมกับพระวิษณุแล้ว ก็ทรงมี ๒ พระกรบ้าง ๔ พระกรบ้าง

รัศมีแห่งองค์พระแม่ลักษมีนั้น ก ว่าสุกปลั่งเป็นประกายอย่างสายฟ้าแลบ กลิ่นหอม จากพระ วรกายนั้นประหนึ่งกลิ่นดอกบัว หอมจรุงไปไกลถึงหลายร้อย โยชน์ พาหนะแห่งองค์พระแม่ลักษมี คือ ช้าง คนอินเดียถือว่า ช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาธิการ พลังอำนาจ และความ มั่งคั่ง ดังกำเนิดพระลักษมีที่มีช้างโปรยน้ำถวายนั่นเอง นอกจากช้างแล้ว ชาวอินเดียทั้งหลายก็นับถือ เบี้ยจั่น เพราะถือเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระแม่ลักษมีมาแต่โบราณ เพราะว่าพระนางทรงเป็นเทวีแห่งโภคทรัพย์ ความร่ำรวย จึง ต้องเกี่ยวข้องกับเงินตรา

พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและ อสูร กวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า ซลธิซา (กิก แต่น้ำ หรือ กษีราพธิตนยา (ลูกสาวแห่งทะเลน้ำนม เนื่องด้วยพระองค์ผุดขึ้นมานั่งในดอกบัวและในมือถือ ดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของ พระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ ลักษมีเป็นมารดาพระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ยังถือว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำ พระทัยเมตตาปรานีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างผู้หญิงที่งามทั้งรูป และกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ เป็น ผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ

นอกจากนี้ยังมีผู้ศรัทธาให้พระแม่ลักษมีเป็นเทวีแห่งโซคลาภ มีบันทึก ใน Junagdh Inscription ของ Skandagupta กษัตริย์รุ่นปลาย ของ ราชวงศ์คุปตะว่า ด้วยอำนาจแห่งเทวีลักษมีนี่เอง ที่ทรงส่งเสริม อำนาจเทพสวามีคือ พระวิษณุ จนได้ชื่อว่า เทพเจ้าผู้บริหารโลก การบูชาพระแม่ลักษมี จึงมีแพร่หลายทั่วไปในอินเดีย เพราะ เชื่อว่าผู้ที่สามารถบูชาจนเป็นที่พอพระทัย เทวีลักษมีจะทรง ประทานศิริและความมั่งคั่งให้อย่างงดงาม

พระแม่ลักษมีมอบพรใดแก่ผู้บูชา

เน้นในเรื่องการเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ ขึ้นชื่อในเรื่องของความรักที่มั่นคง ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม

คาถาบทสวดมนต์บูชาพระแม่ลักษมี

โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” 3 จบ จากนั้นจึงค่อยกล่าวบทสวดถึงพระแม่ลักษมี “โอมชัยยะศรี ลักษมี มาตา” 8 จบ และเริ่มกล่าวกับพระแม่ว่า “วันนี้ข้าพเจ้าได้มาสักการะองค์พระแม่ลักษมีเทวี วันนี้ลูกได้น้อมนำสิ่งของมาถวาย (กล่าวชื่อสิ่งของที่นำมาถวายแต่ละอย่าง)” ซึ่งการทำเช่นนี้ เสมือนเป็นการพูดคุย และให้ความจริงใจแก่พระแม่ลักษมี คิดไว้เสมอว่าเราต้องคุยกับท่านก่อน เล่าเรื่องราวต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตว่าเป็นอย่างไร

วิธีการสักการะบูชาพระแม่ลักษมี

วันที่เหมาะแก่การขอพรพระแม่ลักษมีที่สุด คือ วันศุกร์ การแต่งการควรเน้นสีสันสดใส สีชมพู สีแดง

ของไหว้พระแม่ลักษมี

  • น้ำเปล่า น้ำแดง นม น้ำอ้อย (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • ธัญพืช 9 ชนิด
  • ดอกบัวสีชมพู 8 ดอก
  • ธูป 9 ดอก
  • เทียน 2 เล่ม