Urseer / บล็อก / ทั่วไป / คเณศชยันตี ฤกษ์ดีสำหรับการไหว้ขอพรพระพิฆเนศ

คเณศชยันตี ฤกษ์ดีสำหรับการไหว้ขอพรพระพิฆเนศ

เผยแพร่เมื่อ กุมภาพันธ์ 13, 2024

โดย ณัฐภัทร

ॐ श्री गणेशाय नमः (OM Sri Ganeshaya Namah)

เนื่องในวาระโอกาสฤกษ์ดีวันศุกลปักษ์ (ข้างขึ้น) สี่ค่ำ เดือนมาฆะ ในปีนี้ตรงกับวันที่ 13  กุมภาพันธ์ 2567 เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระพิฆเนศหรือที่เราเรียกว่า ‘วันคเณศชยันตี’  มหาเทพแห่งศิลปะ สติปัญญา บรมครูแห่งความสำเร็จทั้งปวง จากคัมภีร์คเณศปุราณะ อัธยายที่ 46 และในมหาภารตะนั้นได้กล่าวถึงวันประสูติของพระคเณศตรงกันว่า คือ “มาฆ ศุภท จตุรถี” หมายถึง “วันศุกลปักษ์ (ข้างขึ้น) สี่ค่ำ เดือนมาฆะ” โดยมีความเชื่อว่าวันนี้จะเป็นวันที่พระพิฆเนศจะแผ่พระบารมีมายังโลกมนุษย์นั้นเอง

ความเป็นมาของวันคเณศชยันตี

ความเป็นมาของวันคเณศชยันตี

Magha Shukla Chaturthi หรือที่รู้จักกันในชื่อ วันคเณศชยันตี เป็นเทศกาลฮินดูที่สำคัญมาก โดยคัมภีร์มุทฺคลปุราณะ กล่าวถึงกำเนิดของพระพิฆเนศ ว่า พระนางปารวตี พระมเหสีของพระศิวะ ได้สร้างพระพิฆเนศขึ้นจากดินเหนียวและประทานชีวิตให้ เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิฆเนศ เทพผู้มีเศียรเป็นช้าง ซึ่งได้รับการเคารพในฐานะผู้ขจัดอุปสรรค และเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาและจุดเริ่มต้น โดยต้นกำเนิดของคเณศชยันตี  มีต้นกำเนิดมาจากพระคัมภีร์ฮินดูโบราณ ซึ่งเชื่อกันว่าวันนี้เป็นวันครบรอบวันประสูติของพระพิฆเนศ ตามตำนานฮินดู ในวันอันเป็นมงคลนี้ เจ้าแม่ปาราวตี มเหสีของพระศิวะ ได้สร้างพระพิฆเนศจากไม้จันทน์เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของเธอขณะอาบน้ำ เมื่อพระอิศวรเสด็จกลับมา พระพิฆเนศไม่ทราบถึงเชื้อสายศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ จึงขัดขวางพระศิวะไม่ให้เข้าไป จนเกิดการต่อสู้อันดุเดือดระหว่างพระพิฆเนศและพระศิวะ ส่งผลให้พระพิฆเนศเสียศีรษะ ต่อมาเมื่อทราบถึงตัวตนของพระพิฆเนศและความทุกข์ใจของปาราวตี พระศิวะจึงได้ประทานเศียรใหม่แก่พระองค์ซึ่งเป็นหัวช้าง จึงฟื้นคืนพระชนม์และทำให้พระองค์เป็นเทพผู้เป็นที่รักซึ่งเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน

ในช่วงวันคเณศชยันตี   ผู้ที่ศรัทธาพระพิฆเนศจะตื่นแต่เช้า ชำระล้างร่างกายให้สะอาดอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ และสวดมนต์และทำพิธีกรรมแด่พระพิฆเนศ และทำพิธีบูชาเพื่อขอพรจากพระองค์เพื่อความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง และการขจัดอุปสรรคในชีวิต คุณสามารถอ่านประวัติพระพิฆเนศเพิ่มเติมได้ที่ : พระพิฆเนศ

คาถาบูชาพระพิฆเนศ

“โอม เจ มหา กาเนชา เดวา นะมะฮา” 9 จบ, 108 จบ ตามด้วยบทคเณศคายตรี 
“โอม กัง คณปัตเย นะโม นะมะหะ ศรี สิทธิวินายักกา 
นะโม นะมะหะ อัสถะวินายักกา นะโม นะมะหะ คณปติ บับปา โมรยา มังกามูรติ โมรยา”

*จากนั้นจึงถวายข้าวของบูชาที่เตรียมมา 

ของไหว้สำหรับบูชาพระพิฆเนศ

เป็นที่ทราบกันดีว่าการบูชาเทพฮินดู ‘ห้ามถวายเนื้อสัตว์’ โดยเด็ดขาด เนื่องจากชาวฮินดูเชื่อว่าพระพิฆเนศกินมังสวิรัติ จึงไม่ควรบูชาด้วยเนื้อสัตว์

  1. ดอกไม้
    • ดอกดาวเรือง – สื่อไปถึงการนำทางไปสู่ความรุ่งเรือง ส่งเสริมชีวิต ให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า มีเงินทอง
    • ดอกไม้สีแดง – สื่อไปถึงยศถาบรรดาศักดิ์ เสริมด้านอำนาจ พรสำเร็จสมหวัง และได้รับความสุขใจ
    • ดอกไม้สีขาว – ได้ชำระล้างจิตใจเริ่มต้นสิ่งดีๆ ในวันใหม่
  2. เนยกี – ให้พรที่ท่านขอได้รับพรสำเร็จ สมหวัง
  3. ขนมลาดู – ได้รับพรอันเป็นที่รักของมนุษย์ของเทวดาทั้งหลาย
  4. ขนมโมทะกะ –  พรอันเป็นผู้ที่มีทรัพย์ มากตามจำนวนความศรัทธา
  5. น้ำผึ้ง – ส่งเสริมให้ครอบครัวรักใคร่ปรองดอง มีความสามัคคี เพื่อนร่วมงานดี
  6. โยเกิร์ต – เสริมให้ชีวิตสมปรารถนาทางด้านการงาน มีโชคในเรื่องงาน
  7. นมสด – เสริมให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรง
  8. น้ำดื่ม, น้ำเปล่าสะอาด – ส่งเสริมในด้านความเท่าเทียม
  9. กล้วยน้ำว้าสุก, มะม่วง – ส่งเสริมในเรื่องความรัก ชีวิตที่สมบูรณ์
  10. น้ำอ้อย – เน้นเสริมเรื่องโชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา
  11. ธูป 9 ดอก, เทียน 2 เล่ม

พิกัดไหว้ในไหว้ขอพรพระพิฆเนศ

พิกัดไหว้ในไหว้ขอพรพระพิฆเนศ
  1. เทวาลัยพระพิฆเนศ สี่แยกรัชดา – ห้วยขวาง กทม
  2. เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กทม
  3. สวนพระพิฒเนศ ตะเคียนใต้ จังหวัดชลบุรี ‎
  4. วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง จังหวัดแพร่
  5. วัดเทพมณเฑียร กทม
  6. วัดมหาบุศย์ กทม
  7. วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) กทม
  8. ศาลเจ้าพ่อเสือ กทม
  9. ศาลพระพิฆเนศ อาเขต เชียงใหม่
  10. เทวสถานองค์พระพิฆเนศ ด่านนอก สงขลา

บูชาเทวรูปพระพิฆเนศ

โดยคำว่า “พระพิฆเนศ” มีความหมายว่า เทพผู้ปัดเป่าความทุกข์ยากและอุปสรรคทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ การบูชาพระพิฆเนศจึงช่วยเสริมดวงความสำเร็จ ความรู้ และด้านศิลปะ คุณสามารถเลือกชมสินค้าสายมูจากทาง Urseer เพื่อนำองค์พ่อพระพิศเนศไปสักการะบูชา หรือท่านใดไม่สะดวกสามารถบูชาเป็นวอลเปเปอร์พระพิฆเนศก็ย่อมได้ โดยวิธีการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเรา ง่ายมาก เพียงทำตามขั้นตอนนี้!


ณัฐภัทร
ณัฐภัทร (ผู้เขียน)

ผมเชื่อว่าเรื่องของดวงและโหราศาสตร์ควรเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นในยุคสมัยใหม่ นี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้ผมมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อใน Urseer เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องและย่อยง่ายสำหรับทุกคน

SHARE:

บทความอื่น ๆ ล่าสุด